วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551

กล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์ เป็นเครื่องมือสำคัญของนักชีววิทยา เพราะกล้องจุลทรรศน์ช่วยให้ศึกษาโครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์และสิ่งมีชีวิตเล็กๆได้ กล้องจุลทรรศน์แต่ละแบบจะให้กำลังขยายที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและลำแสงที่ใช้กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้กันทั่วไป
แบ่งตามแหล่งกำเนิดแสงได้ 2 ชนิดคือ
กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสง (light microscope)
กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงหรือ L.M. ใช้แสงที่มองเห็นได้ (visible light) เป็นตัวให้แสงโดยแบ่งเป็น2ชนิดคือ
(1) กล้องจุลทรรศน์อย่างง่ายหรือแว่นขยาย (simple microscope or magnifying glass) ประกอบด้วยเลนส์นูนเพียงอันเดียว วัตถุประสงค์ในการใช้ก็เพื่อขยายวัตถุที่จะดูให้ใหญ่ขึ้น เพื่อที่จะได้เห็นรายละเอียดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ภาพที่ได้จะเป็นภาพเสมือน และข้อสำคัญก็คือวัตถุต้องอยู่ห่างจากเลนส์น้อยกว่าทางยาวโฟกัสของเลนส์นั้น
(2) กล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อน (compound light microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงและมีระบบเลนส์ที่ทำหน้าที่ขยายภาพ 2 ชุด มีการขยายภาพ 2 ครั้ง กล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อนมีหลายชนิด แต่ชนิดที่ให้ในการส่องดูสิ่งต่างๆทั่วไป เป็นชนิด bright field microscope เมื่อศึกษาด้วยกล้องชนิดนี้จะพบว่าพื้นที่รอบๆตัวอย่างจะสว่าง ส่วนตัวอย่าง (specimen)